วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตำนานเพลงร็อค

เมื่อปี 1955 ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหวาน ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน แต่บางขณะกลับอ่อนหวานเกินคาดเดา Rock 'n' Roll เมื่อ Bill Haley and his Comets นำเพลง (We're Gonna) Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1 ในบิลล์บอร์ดชาร์ท เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ได้เกิดขึ้นแล้ว Chuck Berry, Little Richar, Fats Domino, Bo Diddley, Ray Charles เป็นศิลปินผิวดำที่ร่วมสร้างดนตรีร็อคแอนด์โรลล์ขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษ ที่ 50 ด้วยเพลงร็อคดีๆมากมาย แต่ดูเหมือนร็อคแอนด์โรลล์จะขาดอะไรไปบางอย่าง จนการมาถึงของหนุ่มนักร้องผิวขาวที่ชื่อ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ต้นปี 1956 เอลวิส ในวัย 21 กับเพลง Heartbreak Hotel ที่ขึ้นอันดับ 1 ก็โด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอลวิสมีเพลงฮิตหลายเพลงในปีนั้นเช่น Blue Suede Shoes, I Want You I Need You I Love You, Hound Dog, Don't Be Cruel, Love Me, Anyway You Want Me และ Love Me Tender ส่งผลให้เขากลายเป็นราชาร็อคแอนด์โรลล์ไปในทันที Carl Perkins, Jerry Lee Lewis, Buddy Holly, Gene Vincent, The Everly Brothers, Ricky Nelson, Roy Orbison เป็นศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้ร่วมสร้างดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ให้แข็งแรงขึ้น ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกิดจากส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น Country, Gospel, Blues และ Rhythm and Blues แต่ก็ต้องขอบคุณต่อเสน่ห์ของเอลวิส ที่ทำให้ร็อคแอนด์โรลล์โด่งดังและเติบโต มาได้ถึงทุกวันนี้ แต่แล้ว เมื่อต้นทศวรรษที่ 60 ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกือบจะพบจุดจบ เพราะความคลั่งไคล้ในร็อคแอนด์โรลล์ ก่อให้เกิดการเลียนแบบอย่างไร้สาระ ถึงแม้จะมีศิลปินเกิดใหม่มากมาย แต่ก็ไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง คราวนี้ร็อคแอนด์โรลล์ต้องขอบคุณต่อหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ในนามของ The Beatles British Invasion บริทิช อินเวชั่น (Britiah Invasion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1964 โดยคณะนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย นำรูปลักษณ์ และบทเพลงใหม่ๆ ออกท้าทายวงการร็อคแอนด์โรลล์ มันกลายเป็นการพัฒนาดนตรีร็อคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากเอลวิส เพรสลีย์ และนักดนตรีชาวอเมริกันหลายคนสร้างขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นเพียงหนุ่มวัยรุ่น 4 คน ที่เกิดมาในครอบครัวของชนชั้นกรรมาชีพจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อได้รวมตัวกันในนามของ The Beatles และสร้างผลงานเพลงขึ้นมา พวกเขาก็ไม่ใช่แค่วงดนตรีธรรมดา เดอะ บีเทิลส์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างไม่ใช่เพียงแค่ในวงการดนตรี แต่ยังหมายถึง แฟชั่น วัฒนธรรม ศิลปทุกแขนง ไปจนถึงการเมือง อิทธิพลของพวกเขาไม่ใช่แค ทรงผม ท่าทาง เสื้อผ้า หรือรองเท้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวความคิด วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีกลุ่มนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย ที่ร่วมขบวนการมากับเดอะ บีเทิลส์ แต่ที่ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบันได้แก่ The Rolling Stones, The Kinks และ The Who รวมทั้งที่กลายเป็น ศิลปินเดี่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Jeff Beck, Steve Winwood, Van Morrison และ Eric Clapton ในขณะที่ British Invasion กำลังครอบครองวงการร็อคแอนด์โรลล์และวงการ พ็อพ (Pop) อย่างหนักนี้ ดนตรีอเมริกันเจ้าของเพลงร็อคแอนด์โรลล์ ก็เริ่มการโต้ตอบ กลับโดยดนตรี ริธึมแอนด์บลูส์ ( Rythm and Blues) ซึ่งเริ่มพัฒนามาเป็นเพลงร็อคเต็มตัว เช่นเพลงทั้งหมดจาก Motown ที่ ภายหลังถูกเรียกว่า เพลงโซล (Soul) อีกส่วนหนึ่งมาจากดนตรีของ The Beach Boys และที่สำคัญที่สุด มาจากนักร้องนักแต่งเพลงโฟล์คที่ชื่อ Bob Dylan แต่การต่อสู้ที่เข้มข้นบนอันดับเพลงในช่วงนี้ กลับเป็นการพัฒนาดนตรีร็อค ครั้งสำคัญที่สุด มันทำให้เพลงร็อคมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป Psychedelic ปี 1967 วงการร็อคพัฒนาตัวเองไปอีกก้าวใหญ่ ถึงแม้ความจริง มันจะเป็นยุคแห่งความยุ่งยากทางการเมือง ยุคแห่งการเรียกร้องสันติภาพ ยุคแห่งการเติบโตของยาเสพติด แต่กลับกลายเป็นพลังให้ดนตรีร็อคพัฒนาตัวแทรกเข้าถึงดนตรีประเภทอื่นๆ และย้อนกลับมาเป็นดนตรีร็อคของพวกเขาอย่างเต็มภาคภูมิ Blues-Rock, Folk-Rock, Country-Rock เกิดขึ้นในช่วงนี้ จากการนำของวงดนตรีอย่างเช่น The Byrds, The Cream, The Paul Butterfield Blues Band จากนั้นก็มุ่งเข้าสู่ยุค Psychedelic อย่างเต็มตัวจากเพลงของ The Beatles, Jefferson Airplane, The Grateful Dead, The Doors, Pink Floyd, Jimi Hendrix และ Janis Joplin อีกสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาดนตรีร็อคในช่วงนี้ คือ ดนตรีโซล (Soul) จากบริษัทแผ่นเสียง Stax1 ซึ่งได้นำจังหวะเพลงที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง เข้ามาสู่เพลงร็อค และแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ Rock, Hard Rock, Heavy Metal, Soft Rock ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ไม่มีใครหยุดยั้งร็อคแอนด์โรลล์ได้ มันเจริญ เติบโตด้วยตัวของมันเองส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการผสมผสานกับดนตรีรูปแบบอื่น อย่างไร้พรหมแดน แต่อย่างน้อยเราก็เห็นว่า มันมีแนวทางที่ชัดเจนอยู่ 2 อย่างคือ Hard Rock เป็นดนตรีที่หนักหน่วง และ Soft Rock เป็นร็อคที่นุ่มนวลกว่า Hard Rock, Heavy Metal ในทางด้านดนตรีนั้น ทั้ง Heavy Metal และ Hard Rock มีความใกล้เคียง กันมาก จนแทบจะแยกกันไม่ออก โดยทั้งสองแนวนี้จะใช้เสียงในการเล่นที่ดัง เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ จะเป็นกีตาร์ เบส และกลอง บวกกับเสียงร้อง ที่ต้องใช้พลัง มีสิ่งหนึ่งที่พอจะแยกความแตกต่างระหว่าง Heavy Metal กับ Hard Rock คือ ดนตรีในแบบ Hard Rock นั้น จะมีเสียงของดนตรีบลูส์ และร็อคแอนด์โรลล์ ปะปนอยู่ แต่ใน Heavy Metal นั้นมีน้อยมาก ในช่วงต้นยุคทศวรรษ 70 นั้น Heavy Metal ซึ่งได้เติบโตมาจาก Hard Rock ก็เจริญงอกงามและได้วางรากฐานของตัวมันเอง ด้วยการเล่นที่ดุดัน หนักหน่วง ร้อนแรง ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว ที่ต้องกาารสื่อสารกับคนภายนอก แสดงออกชัดอย่างโจ่งแจ้งทางอารมณ์และความคิด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ และแหวกขนบธรรมเนียมของสังคม ที่ผ่านมานั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและ แง่ลบกันอยู่เสมอเกี่ยวกับดนตรี Heavy Metal หากแต่ดนตรีประเภทนี้ก็ยังมี การพัฒนาต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ดนตรี Hard Rock และ Heavy Metal ได้ แตกแขนงออกไปจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองแยกออกไปเป็นชื่อต่างๆ ที่เรียกตาม ลักษณะดนตรี บางครั้งแบ่งตามลักษณะของการแต่งตัว แบ่งตามลักษณะของเนื้อหา ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันได้แก่ Glam Rock, Arena Rock, Boogie Rock, Pop- Metal, British Metal, Thrash, Neo-Classic Metal, Speed Metal, Death Metal, Guitar Virtuoso, Progressive Metal, Punk Rock, Rap Rock. Soft Rock Soft Rock เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในตอนต้นของปี 1970 มีลักษณะเพลงที่เรียบง่าย ทำนองรื่นหู มีความสวยงาม อ่อนโยน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไป ศิลปินที่ มีชื่อเสียงและทำให้คนยอมรับเพลงเหล่านี้ ได้แก่ The Carpenters, Bread, Carole King, The Eagles, Elton John และ Chicago ซึ่งสร้างผลงาน ดนตรีที่มีความเรียบง่ายหากแต่มีความไพเราะและกลายเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของงาน ที่ให้ความสำคัญกับความอ่อนหวานในบทเพลง ตลอดทศวรรษที่ 70 ดนตรีร็อคได้มีการพัฒนาและแตกแขนงกลายเป็นดนตรีอีกหลาย แนว โดยมีชื่อเรียกต่างกันออกไป ได้แก Pop Rock, Pop Dance, Dance, Easy Listening, Folk Rock, Jazz Rock , Disco และอื่นๆ ปัจจุบันดนตรี Rock ได้วางรากฐานไว้ในดนตรีแทบทุกประเภท โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดนตรี ร็อคยังคงพัฒนาไม่หยุดยั้ง และคงยังได้รับความนิยมอยู่เสมอมา It's Only Rock 'n' Roll (But I Like It) - The Rolling Stones พอดีเจอบทความเกี่ยวกับ Rock and Roll มาเพราะพอดีช่วงนี้เป็นช่วงอาลัยกับวันจากไปของ เอลวิส เพรสลีย์ ซึ่งผมจะหาประวัติของ เอลวิส เพรสลีย์ อย่างย่อๆมาลงให้อีกที่ครับ นับเนื่องจากยุคศตวรรษที่20 ผู้คนทั่วโลกต่างหลงไหลได้ปลื้มกับโคล พอร์เตอร์, ดุ๊ก เอลลิงตัน, หลุยส์ อาร์มสตรอง, แฟรงค์ ซินาตร้า, บิลลี่ ฮอลิเดย์, แฮงค์ วิลเลียม, โรเบิร์ต จอห์นสัน และศิลบินผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นตำนานดนตรีของอเมริกันชนอีกมากมายหลายคน บุคคลเหล่านี้ภายหลังจึงกลายเป็นตำนานของโลกไปโดยปริยาย มีคำถามเกิดขึ้นในเวลาต่อมาว่า?เพราะเหตุใด ? ประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาจึงสามารถสร้างสรรค์ศิลปินเอกของโลกได้เป็นกอบเป็นกำขนาดนี้ อีกทั้งยังสามารถสถาปนาให้ตัวเองเป็นสถาบันดนตรีของโลกได้อย่างไม่ขัดเขิน มีสิ่งใดเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า บลูส์, แจ๊ซ และคันทรี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญลักษณ์ของดนตรีอเมริกันอย่างเด่นชัดถึงต้องเป็นดนตรีของโลกไปด้วย หรือหากจะวัดกันที่ความนิยมก็ยังมีข้อโต้แย้งได้อยู่ดี เพราะมาถึงวันนี้มีผู้คนมากมายที่ยังปักใจเชื่อว่า ?แจ๊สต้องปีนบันไดฟัง? หรือ ?เป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของบลูส์? ในขณะที่คันทรียิ่งไปไม่ถึงไหน ยังวนเวียนกันอยู่แถว ๆ แนชวิลช์ จะมีหลุดรอดออกมาให้ชาวโลกได้ร่วมชื่นชมสักคนก็ต้องลุ้นกันเหนื่อย แถมศิลปินหลายคนยังเข้าใกล้ดนตรีพ็อปเข้าไปทุกที ถ้าอย่างนั้นเราลองมาคิดแบบกบฏกันดูเล่น ๆ ว่า ดุ๊ก, หลุยส์, แฟรงค์, แฮงค์ และอีกหลาย ๆ ตำนานควรยืนอยู่ตรงไหน และยิ่งใหญ่สำหรับใคร แค่ไหน อย่างไร ที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวถึงก็เพื่อให้ช่วยกันตั้งข้อสังเกตประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง คือต้องการโยงเข้าสู่ดนตรีสาขาหนึ่งที่อเมริกันชนเกือบฆ่ามันทิ้ง แต่เมื่อมันไม่ตาย และสามารถเติบโตขึ้นมาบนโลกของดนตรีได้อย่างเข้มแข็ง ต่างก็ช่วยกันยกย่องเชิดชูกันอย่างขนานใหญ่จนหลงลืมไปว่าได้เคยทำอะไรไว้บ้างกับดนตรีที่เรียกว่า ?ร็อค แอนด์ โรลล์? เมื่อมองย้อนกลับไปก่อนปี ค.ศ.1950 ผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลายในอเมริกันสั่งห้ามเด็ดขาดมิให้ลูกหลานเข้าไปข้องแวะกับดนตรีร็อค ประณามกันว่าเป็นดนตรีของปีศาจซาตาน มีการแช่งชักหักระดูกชนิดไม่ให้ผุดให้เกิดกันเลยทีเดียว แต่?วัยรุ่นสมัยโน้นกับสมัยนี้ก็ไม่แตกต่างกันนัก ประเภทยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุส่ง! ดนตรีร็อคเริ่มระบาดไปอย่างรวดเร็วเกินจะหยุดยั้งได้อีกต่อไป เสียงเพลงของศิลปินอย่าง บัดดี้ ฮอลลี ดังกระหึ่มไปทั่วทุกที่ พร้อมการแสดงที่เร่าร้อน และลีลาที่โดนใจวัยรุ่น และถึงแม้ว่าศิลปินผู้นี้จะด่วนชิงลาโลกไปก่อนด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกพร้อมศิลปินร็อคที่กำลังมาแรงอีกสองคนคือ ริชชี่ วาเลนส์ และ เจพี ริชาร์ดสัน แห่งวง เดอะบิ๊กบ๊อบเปอร์ ก็ไม่ได้ทำให้กระแสความนิยมดนตรีร็อคต้องลดลงแต่อย่างใด หนำซ้ำยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม เนื่องเพราะได้บังเกิดคลื่นลูกใหม่นามว่า ?เอลวิส เพรสลีย์? ซึ่งต่อมาภายหลังเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น ?ราชาเพลงร็อค? คนแรก และคนเดียวที่โลกให้การยอมรับเป็นทางการ เอลวิส กับ วันประวัติศาสตร์ ของตำนาน ? ร็อค แอนด์ โรลล์ ? ปี1950 แซม ฟิลลิปส์ โปรดิวเซอร์ชี่อดังของยุคนั้นเคยกล่าวไว้ว่า ?? ถ้าหากผมเจอไอ้หนุ่มผิวขาวสักคนที่มีน้ำเสียงแบบนิโกร จิตใจ และความรู้สึกเป็นแบบนิโกรได้ยิ่งดี คราวนี้แหละคุณเอ๋ย! ได้รวยกันเป็นพันล้านแน่ ? ว่ากันว่า ด้วยคำพูดที่ว่านี้ทำให้บริษัทแผ่นเสียง ซัน เร็คคอร์ด เริ่มสอดส่ายมองหาเด็กหนุ่มในฝันคนนั้น ในที่สุดก็ได้พบกับ เอลวิส เพรสลีย์ และเซ็นสัญญากับเขาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1954 เหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ของดนตรีร็อค - 21 พฤษภาคม 1955 ชัค เบอรี่ ดัดแปลงเพลงคันทรีชื่อ ida red ให้เป็นร็อค ลีลาของเขากลายเป็นเทคนิคมาตรฐานโลก เขามีเพลงดังต่อเนื่องในเวลาต่อมาคือ Johnny B.Good - 9 สิงหาคม 1955 เพลง Ain?t That A Shame ของ แพท บูน ได้รับการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุของคนดำ นับเป็นครั้งแรกที่เพลงของคนขาวได้รับการเผยแพร่โดยโดยสื่อของคนดำ ในขณะที่ก่อนหน้านั้น แฟ็ต โดมิโน ซึ่งเป็นคนดำได้ร้องเพลงนี้ไว้ กลับถือเป็นเพลงต้องห้ามสำหรับสถานีของคนขาว กำแพงแบ่งกั้นได้ถูกทำลายลงในวันนี้ - 6 สิงหาคม 1957 ที่เมือง ลิเวอร์พูล ประเทศ อังกฤษ ประมาณ 4 โมงครึ่ง หนุ่มน้อยวัย15 ชื่อ พอล แม็คคาร์ทนีย์ ได้เข้าไปดูวง ควอรี่แมน ที่มีนักกีตาร์ชื่อ จอห์น เลนนอน เล่นอยู่ ทั้งคู่เกิดชะตาต้องกัน สองอาทิตย์ต่อมา แมคคาร์ทนีย์ ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ เดอะ ควอรี่แมน - 3 กุมภาพันธ์ 1959 ร็อคสตาร์ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนั้น 3 คนคือ บัดดี้ ฮอลลี (22 ปี) ริชชี วาเลนส์ (17 ปี) และ เจ พี ริชาร์ดสัน (23 ปี) ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตในคราวเดียวกัน วันนี้ถูกเรียกว่า ?The Day The Music Died? - ปี 1960 เป็นปีที่วงการ ร็อค แอนด์ โรลล์ในอเมริการะส่ำระสาย เพราะ เอลวิส เพรสลีย์ ถูกเกณฑ์เป็นทหาร ในช่วงเวลานี้ วงการเพลงร็อคของอังกฤษกลับคึกคัก เมื่อเด็กหนุ่ม 4 คน จากลิเวอร์พูล ในนามของ เดอะ บีทเทิ่ลส์ สร้างกระแสนิยมจากการผสมผสานดนตรีในแนวพ็อป และ ร็อคเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ปรากฎว่าโดนใจนักฟังทั่วโลกเข้าอย่างจัง ผลคือ เดอะ บิสเทิ่ลส์ กลายเป็นตำนานที่สำคัญบทหนึ่งของเพลงร็อค นับจากนั้นเป็นต้นมา ก็เกิดการผสานที่แตกแขนงออกไปเรื่อย ๆ ก่อเกิดเป็นร็อคหลากหลายสไตล์อาทิ โฟล์คร็อค, แจ๊ซร็อค, พังค์ร็อค, ฮาทร็อค และอีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น