วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติ iPad

 ประวัติ iPad(Timeline)

ความจริงแล้วที่มาของคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้มีมานานแล้ว โดยนิตยสารไทม์ ระบุว่า “บิล เกตส์” จากค่ายไมโครซอฟท์ได้คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2543 ในงานคอมเด็กซ์ (Comdex) ว่าคอมพิวเตอร์แนวใหม่ที่ไม่มีคีย์บอร์ดจะถูกพัฒนา และจะได้รับความนิยมอย่างมากในอีกห้าปีข้างหน้า
สิบปีต่อมา จ๊อบส์ก็เปิดตัวไอแพดครั้งแรกเมื่อ 27 ม.ค. 2553 กล่าวถึง รูปลักษณ์และแอพพลิเคชั่นที่เป็นหัวใจหลักของ iPad ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านและการซื้อหนังสือไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Application หรือ แอพของ iPad ที่น่าสนใจ

หากพิจารณาถึง Application ที่ทำให้ไอแพดเปลี่ยนแนวคิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์และสำนักพิมพ์คงต้องเริ่มจากไอทูนส์ ซึ่งเป็นร้านค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Store) ของ Apple Inc. จำหน่ายเนื้อหาหลายประเภท ได้แก่ เพลง ภาพยนตร์ รายการทีวี พอดแคส (Podcasts) ออดิโอบุ๊คส์ (Audiobooks) และ iTunes U สมาชิกสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาที่ต้องการได้ โดยมีเนื้อหาที่ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย
อุไรพร ให้ความเห็นว่า ค่าย Apple Inc. ยังวางหมากที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การเตรียมแอพสโตร์ของ Apple Inc. จาก iPhone มาสู่ไอแพดได้ ดังนั้น หากนักการตลาดต้องการสร้างคอนเทนท์ให้กลุ่มผู้ใช้ iPhone และไอแพดก็ทำควบคู่กันได้ด้วย
“แต่ที่ไอแพดเหนือกว่า iPhone คือ ความใหญ่ของจอและความรู้สึกของผู้ใช้ เมื่อได้ลองสัมผัสกับลูกเล่นด้านอินเตอร์แอ็คทีฟที่เร้าใจกว่านั่นเอง”

iPad กับโลกแห่งการซื้อขาย Content Digital ผ่านทางช่องทาง Online

จุดแข็งอีกอย่างในด้านคอนเทนท์ที่ Apple Inc. ใช้เป็นตัวเปิดทาง iPad คือ การเป็นแกดเจ็ตที่พกพาสะดวกและใช้งานง่ายในทุกที่ การสร้างระบบเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตในการรับ-ส่งข้อมูลแบบทันใจ ช่วยให้เกิดแอพพลิเคชั่นกว้างขึ้นในการเป็นช่องทางการทำการตลาดและโปรโมชั่น
ด้วยจุดเด่นที่สามารถใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอ ช่วยให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ และมีการอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดแรงจูงใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นด้วย
“ถ้าวางแผนโครงสร้างสำนักงานขายบนระบบอินเทอร์เน็ตดีๆ เราอาจจะใช้ไอแพดเป็นพนักงานขายในโลกออนไลน์ได้” อุไรพรแนะนำช่องทางขายใหม่ๆ
พร้อมกันนี้ เธอเสริมประเด็นดังกล่าวว่า อย่างน้อยการนำเสนอโปรโมชั่น บริการ และข้อมูลที่น่าสนใจโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่สำนักงานของบริษัทจะเปิดทำการหรือไม่ก็ตาม

iPad ปฏิวัติสื่อใหม่

ยิ่งช่วงที่เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงง่ายเช่นนี้ อินเตอร์แอ็คทีฟเอเยนซีมือโปร บอกว่า นักการตลาดต้องปรับตัวอย่างมาก การมีเครื่องมือดีๆ ที่ช่วยสร้างกระแสและยอดขาย การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ออนไลน์ อาจจะเป็นทางลัดไปสู่เป้าหมายที่ต้องการไม่ยากนัก การมีวิสัยทัศน์และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าจะช่วยให้ปรับตัวได้เร็วและชิงพื้นที่ได้ก่อนผู้อื่นเสมอ
เธอบอกด้วยว่า ขณะที่มุมมองของนักพัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์แอ็คทีฟเอง ก็ต้องสร้างองค์ความรู้และก้าวข้ามช่องว่างของการปรับตัวออกไป การพัฒนาขีดความสามารถในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีผลิตสื่อจะต้องล้ำหน้าก่อนผู้ใช้หรือผู้บริโภคเสมอ เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรและเจ้าของแบรนด์ได้ เพราะนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
“วันนี้นักการตลาดต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายเลือกโหลดแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ไว้ในไอแพดที่จะอยู่ติดตัวผู้นำเทรนด์เหล่านี้ไปตลอด” อุไรพรฝากคำถามไว้
ข้อมูลบางส่วนโดย กรุงเทพธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทยมีประวัติและพัฒนาการมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน โดยเริ่มจากพิพิธภัณฑสถานในพระราชวังและส่วนบุคคล แล้วมีพัฒนาการด้านความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายไปในประเทศต่างๆ
       ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปูพื้นฐานงานพิพิธภัณฑสถานเป็นปฐม เพราะทรงสนพระทัยเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่ยังทรงผนวช เมื่อเสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ได้ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายสมัย จึงทรงรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งราชฤดี ตึกแบบฝรั่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้านตะวันออก จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้ราชอาคันตุกะคณะทูตชาวต่างประเทศได้เข้าชมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุในโอกาสสำคัญ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการเริ่มการจัดพิพิธภัณฑสถานขึ้นในราชอาณาจักรไทยนอกจากพระที่นั่งราชฤดีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ขึ้นด้านหลังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ ซึ่งมีพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์เป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่อยู่ห้องหนึ่ง และทรงใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและของแปลกประหลาดต่าง ๆ ที่ย้ายมาจากพระที่นั่งราชฤดีโดยเฉพาะ จากการที่ทรงสนพระราชหฤทัยในโบราณศิลปวัตถุเช่นนี้ ทำให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่และคหบดีทั่วไปสนใจไปด้วยและมีผู้นำของโบราณขึ้นทูลเกล้าฯ และน้อมเกล้าฯ ถวายอยู่เสมอ ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆก็แพร่หลายยิ่งขึ้น ดังได้พบพระราชนิพนธ์และพระบรมราชาธิบายของพระองค์ อยู่จำนวนมาก และความรู้นี้ยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพราะจากการที่พระองค์เสด็จประพาสประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรปนั้น ทำให้พระองค์ทรงมีโอกาสเสด็จไปทอดพระเนตร พิพิธภัณฑสถานในประเทศนั้น ๆ ก็ทรงนำแบบอย่างการจัดพิพิธภัณฑสถานมาจัด ทำในประเทศไทยด้วยเช่นกัน อาทิ ทรงนำรูปแบบอาคารหอประชุมของทหารที่เมืองปัตตาเวียมาสร้าง "หอคองคอเดีย" สำหรับเป็นที่ประชุมทหารมหาดเล็กเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ทรงโปรดฯ ให้ย้ายศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย และมีพิธีเปิดหอมิวเซียมหรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นเก้าค่ำ ปีจอ ฉอศก ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ กรมศิลปากร จึงถือเอาวันที่ทรงประกอบพิธีเปิดมิวเซียมเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป
พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำโบราณศิลปวัตถุออกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานตามหลักวิชาสากล มีการแบ่งโบราณวัตถุ เป็น ๓ ประเภท และจัดแบ่งเป็นห้อง ๆ ไป ได้แก่  โบราณศิลปวัตถุของไทย ๑ ห้อง  เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้น ๑ ห้อง และศิลปวัตถุจากต่างประเทศอีก ๑ ห้อง พิพิธภัณฑสถานนี้ ซึ่งเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมเป็นครั้งแรก เป็นที่สนใจของประชาชนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงเป็นพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี
พ.ศ.๒๔๓๐ พระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์สุดท้าย ได้เสด็จทิวงคต พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าว่างลง และด้วยเหตุที่มีประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยตั้งตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" แทน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย หอมิวเซียมไปตั้งอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้า ๓ หลัง เป็นที่จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถาน ได้ถูกยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ในสังกัดกระทรวงวัง ต่อมาวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๓๒ กรมพิพิธภัณฑสถานถูกย้ายไปสังกัดกรมศึกษาธิการ ด้วยเหตุผลที่ว่าพิพิธภัณฑสถานก็อยู่ในสังกัดนี้ ตำแหน่งอธิบดี เปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการ พ.ศ.๒๔๓๓ นี้ กรมพิพิธภัณฑสถานได้ย้ายสังกัดอีกครั้งโดยขึ้นกับกองบัญชี กรมกลาง กระทรวงธรรมการ พิพิธภัณฑสถานจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และจะมีผู้เข้าชมมากในโอกาสงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และพระราชพิธีฉัตรมงคล สมัยรัชการที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง "กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร" เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๖ ให้รับผิดชอบงานสำรวจและตรวจรักษาโบราณ วัตถุสถาน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่องานด้านโบราณคดี ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ในประเทศไทยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ อยู่มาก โบราณสถานเหล่านั้นเป็นหลักฐานสำคัญต่อพงศาวดาร และเป็นอุปกรณ์ในการตรวจหาความรู้ทางโบราณคดีซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ เป็นเกียรติยศแก่ประเทศชาติ ในประเทศอื่น ๆ รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลสงวนรักษา โบราณสถานและโบราณวัตถุ โดยตรง แต่ในสมัยนั้นในประเทศไทยโบราณสถานมีการสำรวจเฉพาะบางแห่งเท่านั้น เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้าน นี้โดยตรง ดังนั้น จึงไม่มีระเบียนแบบแผนแน่นอน ด้วยประกาศตั้งกรรมการหอสมุดสำหรับพระนครนี้ นับเป็นประกาศฉบับแรกที่กล่าวถึงการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานในพระราชอาณาจักรพ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้รวมงานที่เกี่ยวกับวรรณกรรมและโบราณคดีเข้าไว้ในสถาบันเดียวกันและพระราชทานหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน และมีพระราชบัญญัติโอนพิพิธภัณฑสถานให้มาขึ้นอยู่ในความดูแลของหอพระสมุดสำหรับพระนคร แต่ต่อมา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๖๙ ได้มีประกาศพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๖๙ ก็มีประกาศตั้งราชบัณฑิตยสภาให้ดูแลงานด้านโบราณคดี วรรณคดี ศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา การเปลี่ยนแปลงของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานได้เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้พิพิธภัณฑสถานเปลี่ยนจากพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป เป็นพิพิธภัณฑสถานที่รวบรวมสงวนรักษาโบราณศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๖๙ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันเป็น หลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ออกนอกประเทศ โดยกำหนดให้ผู้จะนำต้องได้รับอนุมัติจากราชบัณฑิตยสภาก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" ในวันประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ ด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วใน พ.ศ.๒๔๗๖ รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น สังกัดกระทรวงธรรมการ มีกองพิพิธภัณฑ์และโบราณคดีด้วยกองหนึ่งที่สังกัดกรมศิลปากร ต่อมากองนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสมัยนั้น เป็นกองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ จากนั้นได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็น"กองโบราณคดี" โดยมีหน้าที่ดำเนินงานพิพิธภัณฑสถาน และดูแลโบราณสถานทั่วพระราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๗ ได้มีการเปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร พ.ศ.๒๔๗๘ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งได้มีการปรับปรุงอีกเป็น "พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ " ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่งอยู่ในความควบคุมดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช ๒๕๑๘ ให้จัดตั้งกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยแยกออกจากกองโบราณคดี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นโดยรวมเอากองโบราณคดีและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่คือ " สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ " ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ขึ้น โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้แยกออกมาจากสำนักโบราณคดี เป็น "สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน











วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ร็อก

ร็อก (อังกฤษ: Rock) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในกระแสหลักในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรล ริทึมแอนด์บลูส์ ดนตรีคันทรีในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 รวมถึงเพลงแนวโฟล์ก แจ๊ซและดนตรีคลาสสิก
ดนตรีเพลงร็อกมันวงไปด้วยเสียงกีตาร์แบบแบ็กบีตจากส่วนจังหวะของกีตาร์เบสไฟฟ้า กลองและคีย์บอร์ด อย่างออร์แกน เปียโน หรือตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็มีการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง ร่วมไปกับกีตาร์และคีย์บอร์ด ยังมีการใช้แซกโซโฟน และฮาร์โมนิกาในแบบบลูส์ก็มีใช้บ้างในท่อนโซโล่ ในรูปแบบร็อกบริสุทธิ์แล้ว ใช้ 3 คอร์ด จังหวะแบ็กบีตที่แข็งแรงและหนักแน่น รวมถึงมีเมโลดี้ติดหู[1]
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เพลงร็อกพัฒนาจนแตกแยกย่อยเป็นหลายแนวเพลง และเมื่อรวมกับเพลงโฟล์กแล้วจึงเป็น โฟล์กร็อก รวมกับบลูส์เป็น บลูส์-ร็อก รวมกับแจ๊ซเป็น แจ๊ซ-ร็อก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ร็อกยังเกี่ยวข้องกับเพลงโซล ฟังก์และละติน เช่นเดียวกันในยุคนี้ร็อกยังได้เกิดแนวเพลงย่อยอีกหลายแนวเช่น ซอฟต์ร็อก เฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก โพรเกรสซีฟร็อกและพังก์ร็อก ส่วนแนวเพลงย่อยร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น นิวเวฟ ฮาร์ดคอร์พังก์และอัลเทอร์เนทีฟร็อก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงย่อยที่เกิดเช่น กรันจ์ บริตป็อป อินดี้ร็อกและนูเมทัล
มีวงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี ในบางครั้งอาจเป็นวง 3 คนหรือวงดูโอซึ่งอาจมีนักดนตรีเสริมเข้ามาอย่างกีตาร์ริธึมหรือคีย์บอร์ด บางวงอาจมีการใช้เครื่องดนตรีสายอย่างไวโอลิน เชลโล หรือเครื่องเป่าอย่าง แซกโซโฟน หรือทรัมเปตหรือทรอมโบน แต่มีวงไม่มากนักที่ใช้