วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติ iPad

 ประวัติ iPad(Timeline)

ความจริงแล้วที่มาของคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้มีมานานแล้ว โดยนิตยสารไทม์ ระบุว่า “บิล เกตส์” จากค่ายไมโครซอฟท์ได้คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2543 ในงานคอมเด็กซ์ (Comdex) ว่าคอมพิวเตอร์แนวใหม่ที่ไม่มีคีย์บอร์ดจะถูกพัฒนา และจะได้รับความนิยมอย่างมากในอีกห้าปีข้างหน้า
สิบปีต่อมา จ๊อบส์ก็เปิดตัวไอแพดครั้งแรกเมื่อ 27 ม.ค. 2553 กล่าวถึง รูปลักษณ์และแอพพลิเคชั่นที่เป็นหัวใจหลักของ iPad ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านและการซื้อหนังสือไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Application หรือ แอพของ iPad ที่น่าสนใจ

หากพิจารณาถึง Application ที่ทำให้ไอแพดเปลี่ยนแนวคิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์และสำนักพิมพ์คงต้องเริ่มจากไอทูนส์ ซึ่งเป็นร้านค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Store) ของ Apple Inc. จำหน่ายเนื้อหาหลายประเภท ได้แก่ เพลง ภาพยนตร์ รายการทีวี พอดแคส (Podcasts) ออดิโอบุ๊คส์ (Audiobooks) และ iTunes U สมาชิกสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาที่ต้องการได้ โดยมีเนื้อหาที่ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย
อุไรพร ให้ความเห็นว่า ค่าย Apple Inc. ยังวางหมากที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การเตรียมแอพสโตร์ของ Apple Inc. จาก iPhone มาสู่ไอแพดได้ ดังนั้น หากนักการตลาดต้องการสร้างคอนเทนท์ให้กลุ่มผู้ใช้ iPhone และไอแพดก็ทำควบคู่กันได้ด้วย
“แต่ที่ไอแพดเหนือกว่า iPhone คือ ความใหญ่ของจอและความรู้สึกของผู้ใช้ เมื่อได้ลองสัมผัสกับลูกเล่นด้านอินเตอร์แอ็คทีฟที่เร้าใจกว่านั่นเอง”

iPad กับโลกแห่งการซื้อขาย Content Digital ผ่านทางช่องทาง Online

จุดแข็งอีกอย่างในด้านคอนเทนท์ที่ Apple Inc. ใช้เป็นตัวเปิดทาง iPad คือ การเป็นแกดเจ็ตที่พกพาสะดวกและใช้งานง่ายในทุกที่ การสร้างระบบเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตในการรับ-ส่งข้อมูลแบบทันใจ ช่วยให้เกิดแอพพลิเคชั่นกว้างขึ้นในการเป็นช่องทางการทำการตลาดและโปรโมชั่น
ด้วยจุดเด่นที่สามารถใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอ ช่วยให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ และมีการอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดแรงจูงใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นด้วย
“ถ้าวางแผนโครงสร้างสำนักงานขายบนระบบอินเทอร์เน็ตดีๆ เราอาจจะใช้ไอแพดเป็นพนักงานขายในโลกออนไลน์ได้” อุไรพรแนะนำช่องทางขายใหม่ๆ
พร้อมกันนี้ เธอเสริมประเด็นดังกล่าวว่า อย่างน้อยการนำเสนอโปรโมชั่น บริการ และข้อมูลที่น่าสนใจโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่สำนักงานของบริษัทจะเปิดทำการหรือไม่ก็ตาม

iPad ปฏิวัติสื่อใหม่

ยิ่งช่วงที่เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงง่ายเช่นนี้ อินเตอร์แอ็คทีฟเอเยนซีมือโปร บอกว่า นักการตลาดต้องปรับตัวอย่างมาก การมีเครื่องมือดีๆ ที่ช่วยสร้างกระแสและยอดขาย การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ออนไลน์ อาจจะเป็นทางลัดไปสู่เป้าหมายที่ต้องการไม่ยากนัก การมีวิสัยทัศน์และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าจะช่วยให้ปรับตัวได้เร็วและชิงพื้นที่ได้ก่อนผู้อื่นเสมอ
เธอบอกด้วยว่า ขณะที่มุมมองของนักพัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์แอ็คทีฟเอง ก็ต้องสร้างองค์ความรู้และก้าวข้ามช่องว่างของการปรับตัวออกไป การพัฒนาขีดความสามารถในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีผลิตสื่อจะต้องล้ำหน้าก่อนผู้ใช้หรือผู้บริโภคเสมอ เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรและเจ้าของแบรนด์ได้ เพราะนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
“วันนี้นักการตลาดต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายเลือกโหลดแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ไว้ในไอแพดที่จะอยู่ติดตัวผู้นำเทรนด์เหล่านี้ไปตลอด” อุไรพรฝากคำถามไว้
ข้อมูลบางส่วนโดย กรุงเทพธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทยมีประวัติและพัฒนาการมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน โดยเริ่มจากพิพิธภัณฑสถานในพระราชวังและส่วนบุคคล แล้วมีพัฒนาการด้านความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายไปในประเทศต่างๆ
       ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปูพื้นฐานงานพิพิธภัณฑสถานเป็นปฐม เพราะทรงสนพระทัยเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่ยังทรงผนวช เมื่อเสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ได้ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายสมัย จึงทรงรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งราชฤดี ตึกแบบฝรั่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้านตะวันออก จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้ราชอาคันตุกะคณะทูตชาวต่างประเทศได้เข้าชมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุในโอกาสสำคัญ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการเริ่มการจัดพิพิธภัณฑสถานขึ้นในราชอาณาจักรไทยนอกจากพระที่นั่งราชฤดีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ขึ้นด้านหลังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ ซึ่งมีพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์เป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่อยู่ห้องหนึ่ง และทรงใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและของแปลกประหลาดต่าง ๆ ที่ย้ายมาจากพระที่นั่งราชฤดีโดยเฉพาะ จากการที่ทรงสนพระราชหฤทัยในโบราณศิลปวัตถุเช่นนี้ ทำให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่และคหบดีทั่วไปสนใจไปด้วยและมีผู้นำของโบราณขึ้นทูลเกล้าฯ และน้อมเกล้าฯ ถวายอยู่เสมอ ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆก็แพร่หลายยิ่งขึ้น ดังได้พบพระราชนิพนธ์และพระบรมราชาธิบายของพระองค์ อยู่จำนวนมาก และความรู้นี้ยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพราะจากการที่พระองค์เสด็จประพาสประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรปนั้น ทำให้พระองค์ทรงมีโอกาสเสด็จไปทอดพระเนตร พิพิธภัณฑสถานในประเทศนั้น ๆ ก็ทรงนำแบบอย่างการจัดพิพิธภัณฑสถานมาจัด ทำในประเทศไทยด้วยเช่นกัน อาทิ ทรงนำรูปแบบอาคารหอประชุมของทหารที่เมืองปัตตาเวียมาสร้าง "หอคองคอเดีย" สำหรับเป็นที่ประชุมทหารมหาดเล็กเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ทรงโปรดฯ ให้ย้ายศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย และมีพิธีเปิดหอมิวเซียมหรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นเก้าค่ำ ปีจอ ฉอศก ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ กรมศิลปากร จึงถือเอาวันที่ทรงประกอบพิธีเปิดมิวเซียมเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป
พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำโบราณศิลปวัตถุออกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานตามหลักวิชาสากล มีการแบ่งโบราณวัตถุ เป็น ๓ ประเภท และจัดแบ่งเป็นห้อง ๆ ไป ได้แก่  โบราณศิลปวัตถุของไทย ๑ ห้อง  เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้น ๑ ห้อง และศิลปวัตถุจากต่างประเทศอีก ๑ ห้อง พิพิธภัณฑสถานนี้ ซึ่งเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมเป็นครั้งแรก เป็นที่สนใจของประชาชนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงเป็นพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี
พ.ศ.๒๔๓๐ พระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์สุดท้าย ได้เสด็จทิวงคต พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าว่างลง และด้วยเหตุที่มีประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยตั้งตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" แทน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย หอมิวเซียมไปตั้งอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้า ๓ หลัง เป็นที่จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถาน ได้ถูกยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ในสังกัดกระทรวงวัง ต่อมาวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๓๒ กรมพิพิธภัณฑสถานถูกย้ายไปสังกัดกรมศึกษาธิการ ด้วยเหตุผลที่ว่าพิพิธภัณฑสถานก็อยู่ในสังกัดนี้ ตำแหน่งอธิบดี เปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการ พ.ศ.๒๔๓๓ นี้ กรมพิพิธภัณฑสถานได้ย้ายสังกัดอีกครั้งโดยขึ้นกับกองบัญชี กรมกลาง กระทรวงธรรมการ พิพิธภัณฑสถานจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และจะมีผู้เข้าชมมากในโอกาสงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และพระราชพิธีฉัตรมงคล สมัยรัชการที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง "กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร" เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๖ ให้รับผิดชอบงานสำรวจและตรวจรักษาโบราณ วัตถุสถาน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่องานด้านโบราณคดี ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ในประเทศไทยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ อยู่มาก โบราณสถานเหล่านั้นเป็นหลักฐานสำคัญต่อพงศาวดาร และเป็นอุปกรณ์ในการตรวจหาความรู้ทางโบราณคดีซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ เป็นเกียรติยศแก่ประเทศชาติ ในประเทศอื่น ๆ รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลสงวนรักษา โบราณสถานและโบราณวัตถุ โดยตรง แต่ในสมัยนั้นในประเทศไทยโบราณสถานมีการสำรวจเฉพาะบางแห่งเท่านั้น เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้าน นี้โดยตรง ดังนั้น จึงไม่มีระเบียนแบบแผนแน่นอน ด้วยประกาศตั้งกรรมการหอสมุดสำหรับพระนครนี้ นับเป็นประกาศฉบับแรกที่กล่าวถึงการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานในพระราชอาณาจักรพ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้รวมงานที่เกี่ยวกับวรรณกรรมและโบราณคดีเข้าไว้ในสถาบันเดียวกันและพระราชทานหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน และมีพระราชบัญญัติโอนพิพิธภัณฑสถานให้มาขึ้นอยู่ในความดูแลของหอพระสมุดสำหรับพระนคร แต่ต่อมา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๖๙ ได้มีประกาศพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๖๙ ก็มีประกาศตั้งราชบัณฑิตยสภาให้ดูแลงานด้านโบราณคดี วรรณคดี ศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา การเปลี่ยนแปลงของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานได้เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้พิพิธภัณฑสถานเปลี่ยนจากพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป เป็นพิพิธภัณฑสถานที่รวบรวมสงวนรักษาโบราณศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๖๙ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันเป็น หลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ออกนอกประเทศ โดยกำหนดให้ผู้จะนำต้องได้รับอนุมัติจากราชบัณฑิตยสภาก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" ในวันประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ ด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วใน พ.ศ.๒๔๗๖ รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น สังกัดกระทรวงธรรมการ มีกองพิพิธภัณฑ์และโบราณคดีด้วยกองหนึ่งที่สังกัดกรมศิลปากร ต่อมากองนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสมัยนั้น เป็นกองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ จากนั้นได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็น"กองโบราณคดี" โดยมีหน้าที่ดำเนินงานพิพิธภัณฑสถาน และดูแลโบราณสถานทั่วพระราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๗ ได้มีการเปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร พ.ศ.๒๔๗๘ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งได้มีการปรับปรุงอีกเป็น "พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ " ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่งอยู่ในความควบคุมดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช ๒๕๑๘ ให้จัดตั้งกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยแยกออกจากกองโบราณคดี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นโดยรวมเอากองโบราณคดีและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่คือ " สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ " ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ขึ้น โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้แยกออกมาจากสำนักโบราณคดี เป็น "สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน











วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ร็อก

ร็อก (อังกฤษ: Rock) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในกระแสหลักในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรล ริทึมแอนด์บลูส์ ดนตรีคันทรีในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 รวมถึงเพลงแนวโฟล์ก แจ๊ซและดนตรีคลาสสิก
ดนตรีเพลงร็อกมันวงไปด้วยเสียงกีตาร์แบบแบ็กบีตจากส่วนจังหวะของกีตาร์เบสไฟฟ้า กลองและคีย์บอร์ด อย่างออร์แกน เปียโน หรือตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็มีการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง ร่วมไปกับกีตาร์และคีย์บอร์ด ยังมีการใช้แซกโซโฟน และฮาร์โมนิกาในแบบบลูส์ก็มีใช้บ้างในท่อนโซโล่ ในรูปแบบร็อกบริสุทธิ์แล้ว ใช้ 3 คอร์ด จังหวะแบ็กบีตที่แข็งแรงและหนักแน่น รวมถึงมีเมโลดี้ติดหู[1]
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เพลงร็อกพัฒนาจนแตกแยกย่อยเป็นหลายแนวเพลง และเมื่อรวมกับเพลงโฟล์กแล้วจึงเป็น โฟล์กร็อก รวมกับบลูส์เป็น บลูส์-ร็อก รวมกับแจ๊ซเป็น แจ๊ซ-ร็อก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ร็อกยังเกี่ยวข้องกับเพลงโซล ฟังก์และละติน เช่นเดียวกันในยุคนี้ร็อกยังได้เกิดแนวเพลงย่อยอีกหลายแนวเช่น ซอฟต์ร็อก เฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก โพรเกรสซีฟร็อกและพังก์ร็อก ส่วนแนวเพลงย่อยร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น นิวเวฟ ฮาร์ดคอร์พังก์และอัลเทอร์เนทีฟร็อก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงย่อยที่เกิดเช่น กรันจ์ บริตป็อป อินดี้ร็อกและนูเมทัล
มีวงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี ในบางครั้งอาจเป็นวง 3 คนหรือวงดูโอซึ่งอาจมีนักดนตรีเสริมเข้ามาอย่างกีตาร์ริธึมหรือคีย์บอร์ด บางวงอาจมีการใช้เครื่องดนตรีสายอย่างไวโอลิน เชลโล หรือเครื่องเป่าอย่าง แซกโซโฟน หรือทรัมเปตหรือทรอมโบน แต่มีวงไม่มากนักที่ใช้

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฮิปฮอป

ฮิปฮอป (อังกฤษ: Hip Hop) หรืออาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (อังกฤษ: Hip-hop) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น

ประวัติ
คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ "Disco Rap" แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy
ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (block party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ
  • กราฟฟิตี (graffiti) เป็นการเพนท์ พ่น กำแพง ความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาว ๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
  • ดีเจ (DJ) ซึ่งมาจากคำว่า disc jockey ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
  • บี-บอย (B-Boy) - เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น เราจะเรียกว่าเบรกแดนซ์ (break dance)
  • เอ็มซี (MC) เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น
DJ Grandmaster Flash ดีเจฮิปฮอปที่มีชื่อเสียง
บี-บอย ในงานเอ็มทีวี สตรีท เฟสติวัล
กราฟฟิตี หนึ่งในองค์ประกอบของฮิปฮอป
ตอนต้นยุค 70s เริ่มจากดีเจในสมัยนั้นที่เป็นส่วนในการเล่นดนตรีแนวเบรก-บีท (break-beat) ซึ่งเป็นที่นิยมในการเต้นรำในสมัยนั้น DJ Kool Herc และ Grandmaster Flash ได้แยกการดีเจออกมาโดยเน้นเพื่อให้เป็นการเต้นรำได้ตลอดทั้งคืน เบรก-บีทนั้นก็พัฒนามาจากเพลงฟังก์ที่มีพวกเครื่องเล่นเพอร์คัชชันเล่นอยู่ด้วย และนี่ก็เป็นการพัฒนาของดีเจ รวมถึงคัตติง (cutting) ด้วย
การแร็ปนั้น พวก MC ตอนแรกจะพูดเพื่อโปรโมทให้ดีเจในงานปาร์ตี้ต่าง ๆ แต่เริ่มมีการพัฒนาโดยการใส่เนื้อร้องลงไป โดยเนื้อหาอาจจะเกี่ยวกับชีวิต เรื่องรอบตัว ยาเสพติด เซ็กส์ โดย Melle Mel มักถูกยกเครดิตว่าเป็น MC คนแรก
ปลายยุค 70s ดีเจหลายคนได้ออกแผ่น โดยมีการแร็ปลงจังหวะเพลง เพลงที่ดัง ๆ มีอย่าง "Supperrappin" ของ Grandmaster Flash & The Furious Five, "The Breaks" ของ Kurtis Blow และ "Rapper's Delight" ของ The Sugar Hill Gang เป็นต้น
จนกระทั่งในปี 1983 ฮิปฮิอปถูกย้ำให้ชัดเจนขึ้นเมื่อ Afrika Bambaataa and the Soulsonic Force ได้ออกแผ่นที่ชื่อว่า "Planet Rock" แทนที่จะเป็นการแร็ปในจังหวะดิสโก้ Bambaataa ได้ใช้เสียงอีเลคโทรนิกแบบใหม่ขึ้นมาแทน โดยเทคโนโลยีซินธิไซเซอร์สมัยนั้น จนกระทั่ง ฮิปฮอปเข้าสู่กระแสหลัก เป็นที่นิยมอย่างมากในยุค 90s ซึ่งในปัจจุบันมีศิลปินแนวฮิปฮอปอยู่จำนวนมาก

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วงการเพลงอินดี้ไทย

ก่อนยุคอินดี้บูมครั้งแรกในปี 2537 ค่ายเพลงไทยสากลโดยรวม เน้นแนวกลางๆ ฟังง่ายๆ เหตุผลหนึ่งคือต้นทุนการผลิตเพลงสมัยนั้นสูงมาก ค่าเช่าห้องบันทึกเสียงและอุปกรณ์ราคาแพง การผลิตเพลงจึงเป็นของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งมีการกำหนดแนวเพลง ให้กับศิลปินนักร้อง เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้า ต้นทุนการผลิตเพลงถูกลง จึงเป็นโอกาสให้กับค่ายเพลงใหม่ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็ก ที่มีความรักเสียงเพลง แต่ไม่มีเงินทุน สามารถคิด และสร้างสรรค์งานเพลง แตกต่างกับกระแสหลักมากขึ้น กลายเป็นทางเลือกใหม่ ด้วยความเบื่อหน่ายในเพลงกระแสหลักที่สะสมไว้มานาน ความนิยมของผู้ฟังจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ศิลปินนักร้องผู้มีความรู้ความสามารถทางดนตรีใน “แนว” ที่ตนถนัด จึงเริ่มมีสิทธิมีเสียงขึ้นมา พัฒนาไปจนถึงการเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของค่ายเพลงอินดี้ ที่โลดแล่นอยู่กับคลื่นลมเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น เขาเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งและเป็นมือเบสวง “Crub” ออกอัลบั้มชุด “View” ในปี 2537 บุกเบิกแนวเพลง brit-pop ของอังกฤษในไทย จนมาเป็นฐานะเจ้าของค่ายต้นสังกัดของวง “สี่เต่าเธอ” ที่โด่งดังในยุคอินดี้บูมครั้งแรก ต่อมารุ่งโรจน์ก่อตั้งบริษัท Small Room ในปี 2542 มุ่งงานรับทำเพลงโฆษณา แตกมาเป็นเพลงขายเป็นอัลบั้มตามร้านทั่วไป เช่นวง Armchair ซึ่งบางเพลงได้รับคัดเลือกไปวางจำหน่ายในระดับนานาชาติ รวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล” ของ เป็นเอก รัตนเรือง ในขณะที่ค่ายเพลงใหญ่ๆ สร้างระบบการทำงาน โดยแยกบทบาทชัดเจนระหว่างรูปแบบ ศิลปินเดี่ยว วง นักดนตรี นักแต่งเพลง รูปแบบอินดี้ได้เข้ามาทำให้การแบ่งแยกเหล่านี้น้อยลง แต่ดูจะไม่เคยมีครั้งใดที่บทบาทเหล่านี้จะถูกหลอมรวมเข้าหากัน เท่ากับที่ Monotone Group ทำอยู่

Monotone Group เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มคนทำเพลงเป็นงานอดิเรกส่งขึ้นโชว์ตามเว็บไซต์ บ้างก็เพิ่งจบปริญญาตรี บ้างก็กำลังเรียนอยู่ ได้มาพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต นำมาซึ่งการนัดเจอและแนะนำเพื่อนต่อกันไปจนรวมกันเป็นกลุ่มนักดนตรีที่ทำด้วยใจรัก โดยไม่มีใครเป็นนักดนตรีอาชีพ และไม่มีใครเรียนจบด้านดนตรี

Monotone Group เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกอัลบั้ม “This Is Not A Love Song” ในปี 2545 ซึ่งมีผู้มีส่วนร่วมนับสิบๆ คน เสมือน “ชมรมดนตรี” ที่ผลิตงานเพลงมาขึ้นอันดับความนิยมในสถานีวิทยุได้ ย้อนกลับไปตั้งแต่หลังความสำเร็จในชุดแรกได้ไม่นาน Monotone Group ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ Be Quiet ขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือในการรับงานต่างๆ ส่วนการจัดจำหน่ายเพลงก็มอบให้ ค่าย Blacksheep ภายใต้บริษัท Sony Music BEC Tero ดูแล

Small Room : “The Next Indy Leader ?”

ออฟฟิศของ Small Room ตั้งอยู่ ณ มุมหนึ่งของชั้นล่างศูนย์การค้าเล็กๆ ริมถนนเอกมัย บรรยากาศทั้งสำนักงานและห้องบันทึกเสียงตกแต่งอย่างสวยงามราวกับร้านกาแฟ พนักงานราว 5 คนแต่งตัวกันตามสบายต้อนรับเราเข้าพบกับ “พี่รุ่ง” รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ ในชุดกางเกงยีนส์เสื้อยืด บอกเล่าชีวิตที่ฝ่าคลื่นลมในวงการเพลงไทยในห้องรับแขกติดกับสวนหย่อมเล็กๆ

เริ่มต้นอย่าง “ศิลปินอินดี้”…

รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ มีใจรักดนตรีจากการที่คุณพ่อส่งเสริมให้สมาชิกในบ้านชอบฟังเพลงและเล่นดนตรียามว่าง จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง แต่หันเหไปชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ รุ่งโรจน์บอกเล่าความรู้สึกกับงานสถาปนิกว่า “ผมเกลียดงานเขียน draft ถ้ากินเครื่องดื่มชูกำลังสองขวดแล้วให้มา draft งานผมจะหลับได้ทั้งคืน แต่ถ้าให้ทำเพลงผมสามารถไม่นอนสองคืน”

ช่วงปี 2537 รุ่งโรจน์นำบทเพลงที่แต่งขึ้นเอง ออกตระเวนเสาะหาค่ายเพลงที่มี sound engineer ที่ช่วยให้ “ซาวด์” ของเพลงเป็น “แบบฝั่งอังกฤษ” อย่างที่เขาหลงใหลและจินตนาการไว้อย่างละเอียด มาตรฐานที่เขาตั้งไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้ต้อง “อยู่หลายที่ ย้ายไปเรื่อย” ด้วยเหตุผลหลักว่า sound engineer ของแต่ละค่ายนั้นยังไม่สามารถช่วยให้เขาสร้างซาวด์ในใจนั้นได้ แม้แต่ค่ายเพลงใหญ่ๆ ด้วยระบบของการจัดศิลปินให้ลง “กรอบ” เป็นอุปสรรคต่อความต้องทำเพลงที่เฉพาะเจาะจง ในที่สุดเขาก็ได้พบกับค่ายที่ต้องการและออกอัลบั้ม “View” มาในนามวง “Crub” ใช้เวลาผลิตงาน 4 เดือน ขายได้ 2 หมื่นชุด ซึ่งไม่คุ้มทุน เพราะในยุคนั้นต้นทุนการผลิตงานเพลงสูงกว่าปัจจุบันมาก “รู้สึก fail มาก” คือความรู้สึกในช่วงนั้น

สู่เส้นทางเจ้าของค่ายเพลง…

ปี 2537 ด้วยการเป็นหุ้นส่วนร่วมก่อตั้งค่ายเพลงอินดี้ชื่อ Boop Record ออกอัลบั้มของวง “สี่เต่าเธอ” ในช่วงที่กระแสเพลงอินดี้เริ่มบูมในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งรุ่งโรจน์เผยว่าเป็นชุดที่ขายดีชุดหนึ่ง แต่จากนั้นรุ่งโรจน์ก็ “เจ๊ง” อีกถึงสองครั้ง ด้วยเหตุผลเรื่องของ ค่าเช่าห้องอัด 4 แสนเข้าไปแล้ว ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ทำไมต้อง “Small Room” ?…

ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการทำเพลงราคาถูกเกิดขึ้น รุ่งโรจน์เปิดบริษัทใหม่อีกครั้ง ในชื่อ Small Room ครั้งนี้มุ่งหารายได้หลักไปที่การรับทำเพลงประกอบโฆษณา และครั้งนี้เขาต้องปรับตัวเองครั้งใหญ่ให้ฟังเพลงและทำเพลงได้หลากหลายแนวเพื่อรองรับโจทย์ของลูกค้า

ที่มาของชื่อ Small Room คือเมื่อแรกตั้งนั้น พื้นที่สำนักงานส่วนใหญ่ถูกใช้จัดเป็นสวนหย่อมอย่างสวยงามและเหลือพื้นที่ส่วนน้อยเท่านั้นไว้เป็นสำนักงานและห้องบันทึกเสียง ธุรกิจรับทำเพลงประกอบโฆษณาบริษัทดำเนินไปได้ดี แต่รุ่งโรจน์ก็ยังต้องการทำธุรกิจค่ายเพลงอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการนำเสนอใหม่ทั้งหมด

Small Room 001 บุกเบิกและเรียนรู้…

อัลบั้ม Small Room 001 ออกจำหน่ายในปี 1999 รุ่งโรจน์เล่าว่าอัลบั้มนี้เป็นต้นแบบของหลายๆ อย่างในวงการเพลงไทย เช่นการนำเอาเพลงใหม่ของศิลปินรายละ 1 – 2 เพลงมารวมกัน มีการใช้นามแฝง ซึ่งรูปแบบนี้ปัจจุบันพบได้ในหลายอัลบั้มของค่ายอื่นๆ

อัลบั้ม 001 นี้ใช้การทำเพลงด้วยอุปกรณ์เชิงคอมพิวเตอร์ ซึ่งเขาเรียกรวมว่าเป็น “harddisk recording” รุ่งโรจน์เปิดเผยว่าใช้งบเพียง 45% ของอดีตสมัยที่ต้องเช่าห้องอัดเสียง

รุ่งโรจน์ตัดสินใจผลิตอัลบั้มชุดนี้ออกมาเป็นเทป 1 หมื่นม้วน กับ CD 1 พันแผ่น ผลปรากฏว่า CD ขายหมดอย่างรวดเร็ว แต่เทปกลับเหลือจำนวนมากจนทำให้ขาดทุน อาจนับได้เป็นตัวอย่างของศิลปินทำธุรกิจ ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจด้านเพลงแต่ก็ต้องอาศัยข้อมูลและประสบการณ์ที่ “คนทำเพลง” อย่างเขายังขาดอยู่

Small Room 002 ท้าทายค่ายใหญ่…

ขณะนั้นกระแสความนิยมในศิลปินประเภทอินดี้เริ่มกลับมา รุ่งโรจน์ย้อนเล่าว่าเริ่มมีเสียงวิจารณ์จากค่ายใหญ่ๆ ว่าถึงที่สุดแล้วกระแสอินดี้บูมรอบสองนี้ก็คงจะจบไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับครั้งแรก คำพูดเหล่านี้ทำให้รุ่งโรจน์ “รู้สึกถูกท้าทาย” อย่างแรง ใน Small Room 002 นอกจากคุณภาพเพลงแล้ว เขาได้ทุ่มทุนทำปกซีดีให้สวยงามซับซ้อนด้วยแรง “ฮึด” ที่จะท้าทายค่ายใหญ่ๆ

อัลบั้ม 002 นี้เปิดตัวในงาน Fat Festival ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เริ่มต้นยุคอินดี้บูมครั้งที่สอง และอัลบั้มนี้ก็ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย

คิดแบบ Small Room…

Small Room มุ่งค้นหา “ตัวตน” ของศิลปินอย่างจริงจังโดยเฉพาะรสนิยมการฟังเพลง ประเด็นนี้รุ่งโรจน์มองว่าค่ายใหญ่ค่อนข้างออกไปทางคล้ายโรงงานที่มีกรอบอยู่แล้ว และพยายามหาพยายามจับศิลปินมาใส่กรอบนั้น

และก่อนจะติดสินใจผลิตอัลบั้มหนึ่งๆ รุ่งโรจน์จะมองหาคู่แข่งมาฟังวิเคราะห์ เปรียบเสมือนการส่งนักมวยขึ้นชกเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ในขณะที่ค่ายแบบอินดี้หลายค่ายเน้นการเดินสายแสดงสด เพื่อชดเชยที่ไม่ได้ออกสื่อมวลชน Small Room กลับไม่เน้นการแสดงสด รุ่งโรจน์ให้เหตุผลว่า “อยากให้น้องๆ ศิลปินได้เอาเวลาไปคิดไปแต่งเพลงทำเพลงให้ดีที่สุด ไม่ใช่เอาเวลามาทุ่มฝึกซ้อมการแสดงบนเวที”

ปัญหาอุปสรรคของอินดี้ และของ Small Room…

ปัญหาที่ Small Room ประสบมาตลอดจนถึงปัจจุบันนั้น รุ่งโรจน์สรุปว่าข้อแรกคือ “งานเยอะกว่าคน” เขาสำทับว่า “พี่อยากให้น้องๆ ในออฟฟิศทุกคนได้มีเวลาไปเที่ยวกับแฟน มีเวลาให้ครอบครัวกันมากๆ”

ต่อมาคือการ “QC” หรือควบคุมคุณภาพเพลงจากนักร้องนักดนตรีในสังกัดซึ่งมักจะไม่ชอบถูก QC แต่รุ่งโรจน์ได้ย้ำว่า “เพลงที่จะออกขายเป็นพาณิชยศิลป์ จะต้องผ่านการ QC”

กระแสอินดี้กลับมาบูมแล้ว จะยั่งยืนหรือไม่ ?…

ยุคที่อินดี้บูมครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่ค่ายเพลงทั้งใหญ่เล็กออกผลงานศิลปินโดยวางตำแหน่งเป็นอินดี้กันเยอะเกินไป ขาดการกลั่นกรองว่าอะไรดีไม่ดี หลายชุดทำออกมาหยาบๆ ไม่มีไอเดียใหม่แต่เอามา “ติดตราอินดี้” เกาะกระแส ผู้ฟังจึงหมดศรัทธา

ส่วนการกลับมาในช่วงหลังนี้ รุ่งโรจน์สรุปว่าเริ่มจากการที่ “พี่เต๊ด” ยุทธนา บุญอ้อม เปิด Fat Radio และจัดงาน Fat Festival ครั้งแรกขึ้นในปี 2544 อีกทั้งบรรดาศิลปิน ค่ายเพลง และผู้บริโภคเองก็ได้ “เรียนรู้และปรับตัว” ทุกสิ่งเป็นระบบขึ้น ไม่ใกล้เคียงกับความ “แบกะดิน” แบบครั้งก่อน

ทัศนะว่าด้วย “เด็กแนว”

กับการบูมของอินดี้ครั้งที่แล้ว รุ่งโรจน์สังเกตว่า มีการแต่งตัวเลียนแบบศิลปินบ้าง แต่ไม่ “art” เท่าปัจจุบัน ซึ่งแต่งได้ออกมาสวยงามน่าดูกว่ามาก นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือก็เข้ามามีส่วนกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นค่อนข้างมาก ซึ่งก็เป็นความพยายามของทางธุรกิจโทรศัพท์มือถือเองด้วยที่จะเกาะติดไลฟ์สไตล์วัยรุ่น

เมื่อมองถึงอนาคตของกระแส “เด็กแนว” รุ่งโรจน์เชื่อว่าจะอยู่ได้นาน “เด็กอัลเทอร์” (วัยรุ่นที่ชอบเพลงแนว alternative ซึ่งโด่งดังในยุคต้นทศวรรษ 90’s หรือ 2533) ก็ได้เติบโตขึ้นมาทำงานในภาคธุรกิจต่างๆ มีส่วนผลักดัน “เด็กแนว” ในปัจจุบันให้เติบโตไปสืบทอดความเป็นวัยรุ่นในยุคหน้าต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ green day

รายชื่อสมาชิก
รายชื่อสมาชิกหลัก

  • Billie Joe Armstrongเล่นเพลงนำ, กีต้าไฟฟ้าs (1987–ปัจจุบัน)

  • Mike Dirntเบส, ร้องประกอบ (1987–ปัจจุบัน)

  • Tré Coolกลอง, จังหว่ะเพลง, ร้องประกอบ (1990–ปัจจุบัน)


  • รายชื่อสมาชิกเสริมในการทัวร์คอนเสิร์ต (ปัจจุบัน)
    รายชื่อมาชิกในอดีต
    • John Kiffmeyer – กลองชุด, ให้จังหว่ะกลอง, ร้องประกอบ (1987–1990)
    รายชื่อสมาชิกเสริมในการทัวร์คอนเสิร์ต (อดีต)
    • Timmy Chunks – ให้จังหว่ะกีต้าร์ (1997–1999)
    • Garth Schultz – ทรอมโบน , ทรัมเป็ต (1997–1999)
    • Gabrial McNair – ทรอมโบน, แซ็กโซโฟน (1999–2001)
    • Kurt Lohmiller – ทรัมเป็ต, กลองทิมปานี(กลองใหญ่), ให้จังหว่ะกลอง, ร้องประกอบ (1999–2004)
    • Mike Pelino – จังหว่ะกีต้าร์, ร้องประกอบ (2004–2005)
    • Ronnie Blake – ทรัมเป็ต, กลองทิมปานี(กลองใหญ่), ให้จังหว่ะกลอง, ร้องประกอบ (2004–2005)
    ผลงานอัลบั้ม

  • 39/Smooth (1990)

  • Kerplunk (1992)

  • Dookie (1994)

  • Insomniac (1995)

  • Nimrod (1997)

  • Warning (2000)

  • American Idiot (2004)

  • 21st Century Breakdown (2009)



  • กรีนเดย์ (Green Day) เป็นวงร็อคจากอเมริกา เริ่มฟอร์มวงในปี 1987 โดยสมาชิก 3 คนคือ Billie Joe Armstrong (กีตาร์, ร้องนำ), Mike Dirnt (เบส) และ Tré Cool (กลอง)
    มียอดขายอัลบั้มทั่วโลกมากกว่า 60 ล้านชุด รวมถึง 22 ล้านชุดเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 ครั้งสาขา Best Alternative Album จากอัลบั้ม Dookie, Best Rock Album จากอัลบั้ม American Idiot, และ Record of the Year จากเพลง "Boulevard of Broken Dreams"

    ประวัติ

    บิลลี่และไมค์เจอกันแล้วร่วมกันตั้งวงชื่อ Sweet Children ขึ้นมาตอนอายุสิบขวบ (1982) ก็เล่นกันมาเรื่อยๆ แต่ว่ายังไม่มีมือกลอง ตอนปี 1987 ก็มี John Kriftmeyer มาเป็นมือกลอง Sweet Children สถานที่ๆ เล่นเป็นทางการครั้งแรกคือ Rod's Hickory Pit ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แล้วก็เล่นตามผับ ตามร้านอาหารเรื่อยมา
    หลังจากที่เปลี่ยนชื่อเป็นกรีนเดย์แล้ว กรีนเดย์ทำ EP ตัวแรกคือ 1,000 Hours ตอนช่วงชีวิตไฮสคูล ไมค์เรียนจบ บิลลี่ดร็อปการเรียนไว้ อัลบั้มเปิดตัวครั้งแรกในปี 1990 คือ 1039 Smoothed Out Slappy Hours เป็นการนำเอาอีพีที่ทำๆ ไว้มารวมกัน ออกกับค่ายอินดี้อย่าง Lookout! Records หลังจากนั้นมือกลองก็ขอลาออกจากวงไปเรียนต่อ ไมค์และบิลลี่เลยจัดการทาบทามมือกลองของวง The Lookout ! ซึ่งก็คือ Tre cool มือกลองคนปัจจุบัน tre เปิดตัวในฐานะหนึ่งในสมาชิกในอัลบั้มที่สอง คือ Kerpunk
    หลังอัลบั้มที่สอง ก็มีการทัวร์เกิดขึ้น Rob Cavallo ค่าย Reprise Records ได้สนใจจากการเห็นการเล่นสด และติดต่อไป กรีนเดย์เลยตัดสินใจเซ็นสัญญาร่วมงานด้วย อัลบั้มที่ออกกะค่ายนี้คือ Dookie เพลงในอัลบั้มนี้เป็นเพลงที่แต่งขึ้นระหว่างการทัวร์ซะส่วนใหญ่ หลังจากที่ Dookie ออกวางจำหน่าย กรีนเดย์กลายเป็นที่รู้จักกันในนามวงร็อคมากด้วยพลังและสติไม่เต็ม มียอดขายได้มากกว่าสิบล้านแผ่น (เฉพาะในอเมริกา) กรีนเดย์ชนะรางวัลแกรมมี่ในปี 1994 สาขา Best Alternative Music Performance
    อัลบั้มที่ตามมาก็คือ Insomniac กับ Nimrod เพลงที่ประสบความสำเร็จคือเพลง Good Riddance (Time of Your Life) สมาชิกแต่ละคนก็แยกย้ายกันไปมีครอบครัว กรีนเดย์ตัดสินใจพักงานเพลงสองปี ในปี 2000 กรีนเดย์โจมตีวงการเพลงอีกครั้งด้วยอัลบั้ม Warning และด้วยเสียงเพลงที่ต่างจากอัลบั้มอื่นๆ เลยทำให้ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับจากนักวิจารณ์และแฟนเพลงมากนัก เพลงที่โดนโจมตีมากที่สุดก็คือ Minority
    หลังสี่ปีที่ไม่มีอัลบั้มใหม่ออกมา จะมีก็แค่ทัวร์เล็กๆ น้อยๆ กรีนเดย์ปล่อยซิงเกิ้ล American Idiot ที่โจมตีรัฐบาล ในเดือนกันยายน 2004 อัลบั้ม American Idiot ขึ้นที่หนึ่งของบิลบอร์ดชาร์ตและก็ชาร์ตต่างๆ มากมายอีกทั่วโลก กรีนเดย์ถูกเสนอชื่อเข้าชิง เจ็ดสาขาของแกรมมี่อวอร์ต และที่ได้รับรางวัลคือ คือ Best Rock Album และ Record of the Year จากเพลง "Boulevard of Broken Dreams"
    ห้าปีต่อมาหลังจากออกอัลบั้มAmerican Idiotและได้ผลิตผลงานใหม่ในชื่อว่า 21st Century Breakdownเป็นเพลงแนว"Rock opera"ตามอัลบั้ม American Idiotและเป็นครั้งแรกที่ในการร่วมมือทำผลงานกับโปรดิวเซอร์เพลงชื่อดัง Butch Vig และได้เริ่มบันทึกเสียงทำผลงาน เดือนมกราคม ในปี 2006 และ 45 เพลงได้แต่งเพลงโดย สมาชิกในวง ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี 2007 แต่สมาชิกวงและโปรดิวเซอร์ไม่ได้เข้ามาทำงานสตูดิโอจนถึง มกราคม 2008 และต่อมาก็เริ่มทำงานอย่างจริงจังและเริ่มบันทึกเสียงอีกครั้งในช่วง 3-4 ปี บันทึกเสียงสตูดิโอที่แคลิฟอร์เนียจนทำผลงานสำเร็จที่ในเดือนเมษายน ปี2009
    กรีนเดย์เคยมาเปิดแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ และครั้งที่สองในชื่อ ทเวนตี้-เฟิร์ส เซ็นทูรี เบรกดาวน์ ทัวร์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี
    ล่าสุดGreen Dayได้รับรางวัล Grammy สาขา Best Rock Album ในงานประกาศรางวัล Grammy Awards ครั้งที่ 52 จัดขึ้นที่ สเตเปิลส์เซ็นเตอร์ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปี 2010.


    ตำนานเพลงร็อค

    เมื่อปี 1955 ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหวาน ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน แต่บางขณะกลับอ่อนหวานเกินคาดเดา Rock 'n' Roll เมื่อ Bill Haley and his Comets นำเพลง (We're Gonna) Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1 ในบิลล์บอร์ดชาร์ท เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ได้เกิดขึ้นแล้ว Chuck Berry, Little Richar, Fats Domino, Bo Diddley, Ray Charles เป็นศิลปินผิวดำที่ร่วมสร้างดนตรีร็อคแอนด์โรลล์ขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษ ที่ 50 ด้วยเพลงร็อคดีๆมากมาย แต่ดูเหมือนร็อคแอนด์โรลล์จะขาดอะไรไปบางอย่าง จนการมาถึงของหนุ่มนักร้องผิวขาวที่ชื่อ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ต้นปี 1956 เอลวิส ในวัย 21 กับเพลง Heartbreak Hotel ที่ขึ้นอันดับ 1 ก็โด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอลวิสมีเพลงฮิตหลายเพลงในปีนั้นเช่น Blue Suede Shoes, I Want You I Need You I Love You, Hound Dog, Don't Be Cruel, Love Me, Anyway You Want Me และ Love Me Tender ส่งผลให้เขากลายเป็นราชาร็อคแอนด์โรลล์ไปในทันที Carl Perkins, Jerry Lee Lewis, Buddy Holly, Gene Vincent, The Everly Brothers, Ricky Nelson, Roy Orbison เป็นศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้ร่วมสร้างดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ให้แข็งแรงขึ้น ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกิดจากส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น Country, Gospel, Blues และ Rhythm and Blues แต่ก็ต้องขอบคุณต่อเสน่ห์ของเอลวิส ที่ทำให้ร็อคแอนด์โรลล์โด่งดังและเติบโต มาได้ถึงทุกวันนี้ แต่แล้ว เมื่อต้นทศวรรษที่ 60 ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกือบจะพบจุดจบ เพราะความคลั่งไคล้ในร็อคแอนด์โรลล์ ก่อให้เกิดการเลียนแบบอย่างไร้สาระ ถึงแม้จะมีศิลปินเกิดใหม่มากมาย แต่ก็ไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง คราวนี้ร็อคแอนด์โรลล์ต้องขอบคุณต่อหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ในนามของ The Beatles British Invasion บริทิช อินเวชั่น (Britiah Invasion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1964 โดยคณะนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย นำรูปลักษณ์ และบทเพลงใหม่ๆ ออกท้าทายวงการร็อคแอนด์โรลล์ มันกลายเป็นการพัฒนาดนตรีร็อคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากเอลวิส เพรสลีย์ และนักดนตรีชาวอเมริกันหลายคนสร้างขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นเพียงหนุ่มวัยรุ่น 4 คน ที่เกิดมาในครอบครัวของชนชั้นกรรมาชีพจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อได้รวมตัวกันในนามของ The Beatles และสร้างผลงานเพลงขึ้นมา พวกเขาก็ไม่ใช่แค่วงดนตรีธรรมดา เดอะ บีเทิลส์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างไม่ใช่เพียงแค่ในวงการดนตรี แต่ยังหมายถึง แฟชั่น วัฒนธรรม ศิลปทุกแขนง ไปจนถึงการเมือง อิทธิพลของพวกเขาไม่ใช่แค ทรงผม ท่าทาง เสื้อผ้า หรือรองเท้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวความคิด วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีกลุ่มนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย ที่ร่วมขบวนการมากับเดอะ บีเทิลส์ แต่ที่ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบันได้แก่ The Rolling Stones, The Kinks และ The Who รวมทั้งที่กลายเป็น ศิลปินเดี่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Jeff Beck, Steve Winwood, Van Morrison และ Eric Clapton ในขณะที่ British Invasion กำลังครอบครองวงการร็อคแอนด์โรลล์และวงการ พ็อพ (Pop) อย่างหนักนี้ ดนตรีอเมริกันเจ้าของเพลงร็อคแอนด์โรลล์ ก็เริ่มการโต้ตอบ กลับโดยดนตรี ริธึมแอนด์บลูส์ ( Rythm and Blues) ซึ่งเริ่มพัฒนามาเป็นเพลงร็อคเต็มตัว เช่นเพลงทั้งหมดจาก Motown ที่ ภายหลังถูกเรียกว่า เพลงโซล (Soul) อีกส่วนหนึ่งมาจากดนตรีของ The Beach Boys และที่สำคัญที่สุด มาจากนักร้องนักแต่งเพลงโฟล์คที่ชื่อ Bob Dylan แต่การต่อสู้ที่เข้มข้นบนอันดับเพลงในช่วงนี้ กลับเป็นการพัฒนาดนตรีร็อค ครั้งสำคัญที่สุด มันทำให้เพลงร็อคมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป Psychedelic ปี 1967 วงการร็อคพัฒนาตัวเองไปอีกก้าวใหญ่ ถึงแม้ความจริง มันจะเป็นยุคแห่งความยุ่งยากทางการเมือง ยุคแห่งการเรียกร้องสันติภาพ ยุคแห่งการเติบโตของยาเสพติด แต่กลับกลายเป็นพลังให้ดนตรีร็อคพัฒนาตัวแทรกเข้าถึงดนตรีประเภทอื่นๆ และย้อนกลับมาเป็นดนตรีร็อคของพวกเขาอย่างเต็มภาคภูมิ Blues-Rock, Folk-Rock, Country-Rock เกิดขึ้นในช่วงนี้ จากการนำของวงดนตรีอย่างเช่น The Byrds, The Cream, The Paul Butterfield Blues Band จากนั้นก็มุ่งเข้าสู่ยุค Psychedelic อย่างเต็มตัวจากเพลงของ The Beatles, Jefferson Airplane, The Grateful Dead, The Doors, Pink Floyd, Jimi Hendrix และ Janis Joplin อีกสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาดนตรีร็อคในช่วงนี้ คือ ดนตรีโซล (Soul) จากบริษัทแผ่นเสียง Stax1 ซึ่งได้นำจังหวะเพลงที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง เข้ามาสู่เพลงร็อค และแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ Rock, Hard Rock, Heavy Metal, Soft Rock ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ไม่มีใครหยุดยั้งร็อคแอนด์โรลล์ได้ มันเจริญ เติบโตด้วยตัวของมันเองส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการผสมผสานกับดนตรีรูปแบบอื่น อย่างไร้พรหมแดน แต่อย่างน้อยเราก็เห็นว่า มันมีแนวทางที่ชัดเจนอยู่ 2 อย่างคือ Hard Rock เป็นดนตรีที่หนักหน่วง และ Soft Rock เป็นร็อคที่นุ่มนวลกว่า Hard Rock, Heavy Metal ในทางด้านดนตรีนั้น ทั้ง Heavy Metal และ Hard Rock มีความใกล้เคียง กันมาก จนแทบจะแยกกันไม่ออก โดยทั้งสองแนวนี้จะใช้เสียงในการเล่นที่ดัง เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ จะเป็นกีตาร์ เบส และกลอง บวกกับเสียงร้อง ที่ต้องใช้พลัง มีสิ่งหนึ่งที่พอจะแยกความแตกต่างระหว่าง Heavy Metal กับ Hard Rock คือ ดนตรีในแบบ Hard Rock นั้น จะมีเสียงของดนตรีบลูส์ และร็อคแอนด์โรลล์ ปะปนอยู่ แต่ใน Heavy Metal นั้นมีน้อยมาก ในช่วงต้นยุคทศวรรษ 70 นั้น Heavy Metal ซึ่งได้เติบโตมาจาก Hard Rock ก็เจริญงอกงามและได้วางรากฐานของตัวมันเอง ด้วยการเล่นที่ดุดัน หนักหน่วง ร้อนแรง ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว ที่ต้องกาารสื่อสารกับคนภายนอก แสดงออกชัดอย่างโจ่งแจ้งทางอารมณ์และความคิด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ และแหวกขนบธรรมเนียมของสังคม ที่ผ่านมานั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและ แง่ลบกันอยู่เสมอเกี่ยวกับดนตรี Heavy Metal หากแต่ดนตรีประเภทนี้ก็ยังมี การพัฒนาต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ดนตรี Hard Rock และ Heavy Metal ได้ แตกแขนงออกไปจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองแยกออกไปเป็นชื่อต่างๆ ที่เรียกตาม ลักษณะดนตรี บางครั้งแบ่งตามลักษณะของการแต่งตัว แบ่งตามลักษณะของเนื้อหา ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันได้แก่ Glam Rock, Arena Rock, Boogie Rock, Pop- Metal, British Metal, Thrash, Neo-Classic Metal, Speed Metal, Death Metal, Guitar Virtuoso, Progressive Metal, Punk Rock, Rap Rock. Soft Rock Soft Rock เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในตอนต้นของปี 1970 มีลักษณะเพลงที่เรียบง่าย ทำนองรื่นหู มีความสวยงาม อ่อนโยน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไป ศิลปินที่ มีชื่อเสียงและทำให้คนยอมรับเพลงเหล่านี้ ได้แก่ The Carpenters, Bread, Carole King, The Eagles, Elton John และ Chicago ซึ่งสร้างผลงาน ดนตรีที่มีความเรียบง่ายหากแต่มีความไพเราะและกลายเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของงาน ที่ให้ความสำคัญกับความอ่อนหวานในบทเพลง ตลอดทศวรรษที่ 70 ดนตรีร็อคได้มีการพัฒนาและแตกแขนงกลายเป็นดนตรีอีกหลาย แนว โดยมีชื่อเรียกต่างกันออกไป ได้แก Pop Rock, Pop Dance, Dance, Easy Listening, Folk Rock, Jazz Rock , Disco และอื่นๆ ปัจจุบันดนตรี Rock ได้วางรากฐานไว้ในดนตรีแทบทุกประเภท โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดนตรี ร็อคยังคงพัฒนาไม่หยุดยั้ง และคงยังได้รับความนิยมอยู่เสมอมา It's Only Rock 'n' Roll (But I Like It) - The Rolling Stones พอดีเจอบทความเกี่ยวกับ Rock and Roll มาเพราะพอดีช่วงนี้เป็นช่วงอาลัยกับวันจากไปของ เอลวิส เพรสลีย์ ซึ่งผมจะหาประวัติของ เอลวิส เพรสลีย์ อย่างย่อๆมาลงให้อีกที่ครับ นับเนื่องจากยุคศตวรรษที่20 ผู้คนทั่วโลกต่างหลงไหลได้ปลื้มกับโคล พอร์เตอร์, ดุ๊ก เอลลิงตัน, หลุยส์ อาร์มสตรอง, แฟรงค์ ซินาตร้า, บิลลี่ ฮอลิเดย์, แฮงค์ วิลเลียม, โรเบิร์ต จอห์นสัน และศิลบินผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นตำนานดนตรีของอเมริกันชนอีกมากมายหลายคน บุคคลเหล่านี้ภายหลังจึงกลายเป็นตำนานของโลกไปโดยปริยาย มีคำถามเกิดขึ้นในเวลาต่อมาว่า?เพราะเหตุใด ? ประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาจึงสามารถสร้างสรรค์ศิลปินเอกของโลกได้เป็นกอบเป็นกำขนาดนี้ อีกทั้งยังสามารถสถาปนาให้ตัวเองเป็นสถาบันดนตรีของโลกได้อย่างไม่ขัดเขิน มีสิ่งใดเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า บลูส์, แจ๊ซ และคันทรี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญลักษณ์ของดนตรีอเมริกันอย่างเด่นชัดถึงต้องเป็นดนตรีของโลกไปด้วย หรือหากจะวัดกันที่ความนิยมก็ยังมีข้อโต้แย้งได้อยู่ดี เพราะมาถึงวันนี้มีผู้คนมากมายที่ยังปักใจเชื่อว่า ?แจ๊สต้องปีนบันไดฟัง? หรือ ?เป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของบลูส์? ในขณะที่คันทรียิ่งไปไม่ถึงไหน ยังวนเวียนกันอยู่แถว ๆ แนชวิลช์ จะมีหลุดรอดออกมาให้ชาวโลกได้ร่วมชื่นชมสักคนก็ต้องลุ้นกันเหนื่อย แถมศิลปินหลายคนยังเข้าใกล้ดนตรีพ็อปเข้าไปทุกที ถ้าอย่างนั้นเราลองมาคิดแบบกบฏกันดูเล่น ๆ ว่า ดุ๊ก, หลุยส์, แฟรงค์, แฮงค์ และอีกหลาย ๆ ตำนานควรยืนอยู่ตรงไหน และยิ่งใหญ่สำหรับใคร แค่ไหน อย่างไร ที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวถึงก็เพื่อให้ช่วยกันตั้งข้อสังเกตประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง คือต้องการโยงเข้าสู่ดนตรีสาขาหนึ่งที่อเมริกันชนเกือบฆ่ามันทิ้ง แต่เมื่อมันไม่ตาย และสามารถเติบโตขึ้นมาบนโลกของดนตรีได้อย่างเข้มแข็ง ต่างก็ช่วยกันยกย่องเชิดชูกันอย่างขนานใหญ่จนหลงลืมไปว่าได้เคยทำอะไรไว้บ้างกับดนตรีที่เรียกว่า ?ร็อค แอนด์ โรลล์? เมื่อมองย้อนกลับไปก่อนปี ค.ศ.1950 ผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลายในอเมริกันสั่งห้ามเด็ดขาดมิให้ลูกหลานเข้าไปข้องแวะกับดนตรีร็อค ประณามกันว่าเป็นดนตรีของปีศาจซาตาน มีการแช่งชักหักระดูกชนิดไม่ให้ผุดให้เกิดกันเลยทีเดียว แต่?วัยรุ่นสมัยโน้นกับสมัยนี้ก็ไม่แตกต่างกันนัก ประเภทยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุส่ง! ดนตรีร็อคเริ่มระบาดไปอย่างรวดเร็วเกินจะหยุดยั้งได้อีกต่อไป เสียงเพลงของศิลปินอย่าง บัดดี้ ฮอลลี ดังกระหึ่มไปทั่วทุกที่ พร้อมการแสดงที่เร่าร้อน และลีลาที่โดนใจวัยรุ่น และถึงแม้ว่าศิลปินผู้นี้จะด่วนชิงลาโลกไปก่อนด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกพร้อมศิลปินร็อคที่กำลังมาแรงอีกสองคนคือ ริชชี่ วาเลนส์ และ เจพี ริชาร์ดสัน แห่งวง เดอะบิ๊กบ๊อบเปอร์ ก็ไม่ได้ทำให้กระแสความนิยมดนตรีร็อคต้องลดลงแต่อย่างใด หนำซ้ำยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม เนื่องเพราะได้บังเกิดคลื่นลูกใหม่นามว่า ?เอลวิส เพรสลีย์? ซึ่งต่อมาภายหลังเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น ?ราชาเพลงร็อค? คนแรก และคนเดียวที่โลกให้การยอมรับเป็นทางการ เอลวิส กับ วันประวัติศาสตร์ ของตำนาน ? ร็อค แอนด์ โรลล์ ? ปี1950 แซม ฟิลลิปส์ โปรดิวเซอร์ชี่อดังของยุคนั้นเคยกล่าวไว้ว่า ?? ถ้าหากผมเจอไอ้หนุ่มผิวขาวสักคนที่มีน้ำเสียงแบบนิโกร จิตใจ และความรู้สึกเป็นแบบนิโกรได้ยิ่งดี คราวนี้แหละคุณเอ๋ย! ได้รวยกันเป็นพันล้านแน่ ? ว่ากันว่า ด้วยคำพูดที่ว่านี้ทำให้บริษัทแผ่นเสียง ซัน เร็คคอร์ด เริ่มสอดส่ายมองหาเด็กหนุ่มในฝันคนนั้น ในที่สุดก็ได้พบกับ เอลวิส เพรสลีย์ และเซ็นสัญญากับเขาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1954 เหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ของดนตรีร็อค - 21 พฤษภาคม 1955 ชัค เบอรี่ ดัดแปลงเพลงคันทรีชื่อ ida red ให้เป็นร็อค ลีลาของเขากลายเป็นเทคนิคมาตรฐานโลก เขามีเพลงดังต่อเนื่องในเวลาต่อมาคือ Johnny B.Good - 9 สิงหาคม 1955 เพลง Ain?t That A Shame ของ แพท บูน ได้รับการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุของคนดำ นับเป็นครั้งแรกที่เพลงของคนขาวได้รับการเผยแพร่โดยโดยสื่อของคนดำ ในขณะที่ก่อนหน้านั้น แฟ็ต โดมิโน ซึ่งเป็นคนดำได้ร้องเพลงนี้ไว้ กลับถือเป็นเพลงต้องห้ามสำหรับสถานีของคนขาว กำแพงแบ่งกั้นได้ถูกทำลายลงในวันนี้ - 6 สิงหาคม 1957 ที่เมือง ลิเวอร์พูล ประเทศ อังกฤษ ประมาณ 4 โมงครึ่ง หนุ่มน้อยวัย15 ชื่อ พอล แม็คคาร์ทนีย์ ได้เข้าไปดูวง ควอรี่แมน ที่มีนักกีตาร์ชื่อ จอห์น เลนนอน เล่นอยู่ ทั้งคู่เกิดชะตาต้องกัน สองอาทิตย์ต่อมา แมคคาร์ทนีย์ ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ เดอะ ควอรี่แมน - 3 กุมภาพันธ์ 1959 ร็อคสตาร์ที่กำลังมาแรงที่สุดในขณะนั้น 3 คนคือ บัดดี้ ฮอลลี (22 ปี) ริชชี วาเลนส์ (17 ปี) และ เจ พี ริชาร์ดสัน (23 ปี) ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตในคราวเดียวกัน วันนี้ถูกเรียกว่า ?The Day The Music Died? - ปี 1960 เป็นปีที่วงการ ร็อค แอนด์ โรลล์ในอเมริการะส่ำระสาย เพราะ เอลวิส เพรสลีย์ ถูกเกณฑ์เป็นทหาร ในช่วงเวลานี้ วงการเพลงร็อคของอังกฤษกลับคึกคัก เมื่อเด็กหนุ่ม 4 คน จากลิเวอร์พูล ในนามของ เดอะ บีทเทิ่ลส์ สร้างกระแสนิยมจากการผสมผสานดนตรีในแนวพ็อป และ ร็อคเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ปรากฎว่าโดนใจนักฟังทั่วโลกเข้าอย่างจัง ผลคือ เดอะ บิสเทิ่ลส์ กลายเป็นตำนานที่สำคัญบทหนึ่งของเพลงร็อค นับจากนั้นเป็นต้นมา ก็เกิดการผสานที่แตกแขนงออกไปเรื่อย ๆ ก่อเกิดเป็นร็อคหลากหลายสไตล์อาทิ โฟล์คร็อค, แจ๊ซร็อค, พังค์ร็อค, ฮาทร็อค และอีกมากมาย